วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

สรุปเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.ปลาย


ลองอ่านกันดูนะครับ*

http://pics.unigang.com/all/205.pdf

:)


วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบ Entrance วิชาชีววิทยา 2539

1.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับโรคขาดวิตามินหรือแร่ธาตุ

ก. การขาดวิตามินไทอามีน ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก
ข. การขาดวิตามินเรตินอล ทำให้มองไม่เห็นในที่สลัว
ค. การขาดแร่ธาตุฟอสฟอรัสทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย
ง. การขาดแมกนีเซียมทำให้กล้ามเนื้อทำงานช้า เบื่ออาหารและซึม

1.ก และ ข
2.ก และ ค
3.ข และ ค
4.ข และ ง



2.ข้อใดถูกต้องในขั้นตอนการเจริญของไข่กบ ถ้ากำหนดให้

ก. ปริมาณของไข่แดงมีอิทธิพลต่อแบบแผนการเจริญระยะแรกของสิ่งมีชีวิต
ข. การแบ่งเซลล์ของไซโกตเกิดขึ้นเฉพาะที่ ไม่ตลอดทั่วทั้งไซโกต
ค. ในระยะคลีเวจไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดเซลล์ แต่มีจำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น
ง. การเคลื่อนย้ายและการเปลี่ยนแปรสภาพ (differentiation) ของกลุ่มเซลล์ มีผลต่อกระบวนการเกิดเนื้อเยื่อและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต

1.ก, ข และ ค
2.ก, ข และ ง
3.ก, ค และ ง
4.ข, ค และ ง


















4.เมื่อสัมผัสต้นถั่วต้นสูง 100 ซม.กับต้นเตี้ยพันธุ์แท้ที่สูงเพียง 60 ซม. รุ่นลูก F1 มีความสูงเฉลี่ย 80 ซม. ข้อใดแสดงความแปรผันในรุ่นหลาน F2



5. ข้อใดเป็นลักษณะของสังคมสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ


ก. ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลาย
ข. มีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถฟื้นคืนสภาพเดิมได้หลังการถูกทำลาย
ค. มีความสัมพันธ์เชิงอาหารระหว่างสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน

1.ก เท่านั้น
2.ค เท่านั้น
3.ก และ ค
4.ก, ข และ ค




7.ข้อใดไม่ใช่การเคลื่อนไหวอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่ง

ก. การแตกของผลต้อยติ่งเมื่อถูกน้ำฝน
ข. การบานของดอกกุหลาบ
ค. การเปิด - ปิดปากใบ
ง. การหุบกางของใบไมยราพ
จ. การงอกของหลอดเรณู


1.ข และ จ
2.ข, ง และ จ
3.ข, ค และ ง
4.ก, ข, ค และ จ



A และ B แทนสิ่งใดตามลำดับ
ก. ไมโทซิส
ข. ต้นสปอโรไฟต์
ค. ไรซอยด์
ง. สปอร์มาเทอร์เซลล์


1.ก และ ข
2.ก และ ง
3.ข และ ค
4.ข และ ง


9.หลักฐานของวิวัฒนาการในข้อใด ใช้สนับสนุนว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายต่างก็มีกำเนิดมาจากบรรพบุรุษแรกเริ่มชนิดเดียวกัน ได้ดีที่สุด


ก. หลักฐานจากข้อมูลด้านชีววิทยาเชิงโมเลกุล
ข. หลักฐานจากการเจริญเติบโตของเอมบริโอ
ค. หลักฐานจากการเปรียบเทียบโครงสร้าง
ง. หลักฐานจากการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์



1.ก
2.ข
3.ก และ ค
4.ข และ ง






จากกราฟข้างบน ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช


ก. ตัวอย่างของพืช A, B, C ได้แก่ อ้อย, ข้าวโพด, เฟิร์น ตามลำดับ
ข. ใบของพืช A มีเอนไซม์ RuBP carboxylase ในเซลล์บันเดิลชีทเท่านั้น
ค. ถ้าได้รับความเข้มของแสงต่ำกว่า 0.04 cal/cm2/min เป็นเวลา 10 วัน พืชทุกชนิดจะตาย
ง. พืช A และ B มีความตรึง CO2 2 ครั้ง, พืช C ตรึงครั้งเดียวจ. เซลล์บันเดิลชีทของพืช A มีความเข้มข้นของ CO2 สูงกว่าเซลล์มีโซฟิลล์ของพืช B

1.ข และ จ
2.ข ง และ จ
3.ก และ ข
4.ข และ ค









เฉลย เดี๋ยวมาเฉลยละเอียด



1. ตอบ 3



เหตุผล เรตินอล คือ วิตามิน A การขาดทำให้เป็นโรคตาฟางและการขาดฟอสฟอรัสทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย กระดูกเปาะ (ไทอามีน คือ วิตามิน B1 ขาดเกิดโรคเหน็บชา ส่วนโรคปากนกกระจอก ขาดวิตามิน B2 ไรโบเฟลวิน)



2. ตอบ 3



เหตุผล ไข่กบ มีไข่แดงปริมาณปานกลาง ไซโกตเกิดการแบ่งตัวตลอดทั่วทั้งไซโกต(แต่ไม่เท่ากัน) ข้อ ข จึงไม่ถูกต้อง ส่วนข้ออื่นๆ ถูกต้อง



3. ตอบ 2



เหตุผล บริเวณ ค ศูนย์กลางการมองเห็น
บริเวณ ง ศูนย์กลางของการได้ยิน
บริเวณ ข ศูนย์กลางของการสัมผัส (ผิวหนัง)
ทั้งหมด คือ Cerebrum



4. ตอบ 3



5. ตอบ 3



6. ตอบ 2



7. ตอบ 1



8. ตอบ 4



9. ตอบ 3



10. ตอบ 3



11. ตอบ 2



วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

30 ข้อคิดดีๆ

30 ข้อคิด
1. อย่าทำลายความหวังของใคร เพราะเขาอาจเหลืออยู่แค่นั้น

2. เมื่อมีคนเล่าว่า เขามีส่วนในเหตุการณ์สำคัญอะไรก็ตาม เราไม่ต้องไปคุยทับ ปล่อยเขาฟุ้งไปตาม สบาย
3. รู้จักฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาถึงแบบแว่วๆเหมือนกัน
4. หยุดอ่านคำอธิบายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่ตามริมทางเสียบ้าง
5. จะคิดการใด จงคิดการให้ใหญ่ๆ เข้าไว้ แต่เติมความสุข สนุกสนานลงไปด้วยเล็กน้อย
6. หัดทำสิ่งดีๆ ให้คนอื่นจนเป็นนิสัย โดยไม่จำเป็นต้องให้เขารู้
7. จำไว้ว่าข่าวทุกชนิดล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น
8. เวลาเล่นเกมกับเด็กๆ ก็ปล่อยให้แกชนะไปเถอะ
9. ใครจะวิจารณ์เรายังไงก็ช่าง ไม่ต้องไปเสียเวลาตอบโต้
10. ให้โอกาสผู้อื่นเป็นครั้งที่ "สอง" แต่อย่าให้ถึง "สาม"
11. อย่าวิจารณ์นายจ้าง ถ้าทำงานกับเขาแล้วไม่มีความสุข ก็ลาออกซะ
12. ทำตัวให้สบาย อย่าคิดมาก ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแล้ว อะไรๆ มันก็ไม่สำคัญอย่างที่คิดไว้ทีแ รกหรอก
13. ใช้เวลาน้อยๆในการคิดว่า "ใคร" เป็นคนถูก แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่า "อะไร" คือสิ่งที่ถูก
14. เราไม่ได้ต่อสู้กับ "คนโหดร้าย" แต่เราต่อสู้กับ "ความโหดร้าย" ในตัวคน
15. คิดให้รอบคอบก่อนจะให้เพื่อนต้องมีภาระในการรักษาความลับ
16. เมื่อมีใครสวมกอดคุณ ให้เขาเป็นฝ่ายปล่อยก่อน
17. ยอมที่จะแพ้ในสงครามย่อยๆ เมื่อการแพ้นั้นจะทำให้เราชนะสงครามใหญ่
18. เป็นคนถ่อมตน ...คนเขาทำอะไรต่ออะไรสำเร็จกันมามากมายแล้วตั้งแต่เรายังไม่เกิด
19. ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายเพียงใด ...สุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
20. อย่าไปหวังเลยว่าชีวิตนี้จะมีความยุติธรรม
21. อย่าให้ปัญหาของเราทำให้คนอื่นเขาเบื่อหน่าย ถ้ามีใครมาถามเราว่า "เป็นอย่างไรบ้างตอนนี้" ก็ ตอบเขาไปเลยว่า "สบายมาก"
22. อย่าพูดว่ามีเวลาไม่พอ เพราะเวลาที่คุณมีมันก็วันละ 24 ชั่วโมง เท่าๆ กับ หลุยส์ ปาสเตอร์, ไมเคิลแอนเจลโล, แม่ชีเทเรซา, ลีโอนาร์โด ดา วินซี, ทอมัส เจฟเฟอร์สัน หรือ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ที่เขามีนั่นเอง
23. เป็นคนใจกล้าและเด็ดเดี่ยว เมื่อเหลียวกลับไปดูอดีต เราจะเสียใจในสิ่งที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำ มากกว่าเสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว
24. ประเมินตนเองด้วยมาตราฐานของตัวเอง ไม่ใช่ด้วยมาตราฐานของคนอื่น
25. จริงจังและเคี่ยวเข็ญตนเอง แต่อ่อนโยนและผ่อนปรนต่อผู้อื่น
26. อย่าระดมสมอง เพราะไอเดียดีๆ ใหม่ๆ และยิ่งใหญ่จนสามารถเปลียนแปลงโลกได้ ล้วนมาจาก บุคคลที่คิดค้นอยู่แต่เพียงผู้เดียวทั้งสิ้น
27. คงไว้ซึ่งความเป็นคนเปิดเผย อ่อนโยน และอยากรู้อยากเห็น (มิใช่สอดรู้สอดเห็น)
28. ให้ความนับถือแก่ทุกคนที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพ ไม่ว่างานนั้นจะกระจอกงอกง่อยสักปานใด
29. คำนึงถึงการมีชีวิตให้ "กว้างขวาง" มากกว่าการมีชีวิตให้ "ยืนยาว"
30. มีมารยาทและอดทนกับคนที่สูงวัยกว่าเสมอ

Hormone



ฮอร์โมน

ฮอร์โมน (Hormone) มาจากภาษากรีกที่ว่า horman แปลว่า เคลื่อนไหว

ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่สร้างมาจากต่อมไร้ท่อ(Endocrine gland) หรือ เนื้อเยื่อ (Endocrine tissue) แล้วเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย (Target organ) พูดง่ายๆ คือ ผู้นำส่งสารเคมีจากเซลล์ (Cell) หนึ่ง หรือ กลุ่มของเซลล์ไปยังเซลล์อื่นๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (Multicellular organism) ทั้งมนุษย์สัตว์และพืช

การทำงานของร่างกายที่ควบคุมโดยฮอร์โมนหรือสารเคมี เรียก Chemical control และ เรียกกลุ่มสารเคมีดังกล่าวว่า chemical messenger หรือ molecular messenger


ประเภทของฮอร์โมน
1.ฮอร์โมนสัตว์ (Animal Hormones)
2.ฮอร์โมนพืช (Plant Hormones)


ที่มา : Campbell, N.A. 1987.Biology.2nd




ฮอร์โมนแบ่งตามโครงสร้างทางเคมีได้เป็น 4 ชนิด คือ

1. ฮอร์โมนเปปไทด์หรือโปรตีน (Polypeptide hormone)
2. ฮอร์โมนสเตียรอยด์ (Steroid hormone)
3. ฮอร์โมนเอมีน (Amine hormone)
4. ฮอร์โมนกรดไขมัน (Fatty acid hormone)



ที่มา : Campbell, Biology: concepts & connection--3rd, N.A. Mitchell, L.G. and Reece, 1999

หน้าที่ของฮอร์โมน


หน้าที่ของฮอร์โมนที่สำคัญมีดังนี้
1. การสืบพันธุ์ โดยการกระตุ้นการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ การเจริญเติบโตและพัฒนาการตามวัย เช่นฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน อีสโทรเจน โพรเจสเทอโรน ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าได้แก่ LH และ FSH
ฮอร์โมนเกี่ยวกับการสืบพันธุ์จะควบคุมการเจริญของไข่ในเพศหญิง และอสุจิในเพศชาย กระตุ้นลักษณะทางเพศและขบวนการต่างๆ เพื่อให้พร้อมในการสืบพันธุ์
2. การเจริญเติบโต กระตุ้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (metamorphosis) การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (maturation) เช่น การทำงานของโกรทฮอร์โมน
อินซูลิน กลูโคคอร์ติคอยด์ และฮอร์โมนเพศ
3. การรักษาสภาวะภายในร่างกายให้คงที่ เช่น การรักษาปริมาณน้ำในร่างกาย ความดันโลหิต สารอิเล็กโทรไลต์ ความเป็นกรดด่าง ระดับน้ำตาลในเลือด และแคลเซียมในเลือดเป็นต้น
4. การสร้างและใช้พลังงาน โดยการควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เช่น ฮอร์โมนอินซูลิน กลูคากอน ไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น



เมื่อมีความกลัวหรือความตื่นเต้นฮอร์โมนจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างพลังงานได้จำนวนมาก โดยต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนชื่อ
อิพิเนฟรินหรืออะดรีนาลีน เตรียมพร้อมในการเผชิญหน้าหรือต่อสู้กับอันตรายหรือหลบหนี ( fight or flight) ทำให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่ปกติไม่สามารถทำได้ เช่น ยกตู้เสื้อผ้า ยกตู้เย็น อุ้มคนอื่นเพื่อหนีอันตรายได้ เป็นต้น

จะเห็นว่าการทำหน้าที่ของฮอร์โมนในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งต้องทำงานโดยฮอร์โมนหลายๆ ชนิดทำหน้าที่ร่วมกัน เสริมฤทธิ์กัน หรือต่อต้านกันเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานหรือพัฒนาการ ไปได้ตามปกติ

















การควบคุมการหลั่งของฮอร์โมน
การควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนมี 4 วิธี คือ
1. การหลั่งฮอร์โมนตามปริมาณการใช้
2.
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้งย้อนกลับ
3.
การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ
4.
การควบคุมโดยระบบประสาท

ฮอร์โมนจะหลั่งออกมาเมื่อมีความต้องการใช้ เซลล์ของต่อมไร้ท่อจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของสารในกระแสเลือด หรือความเข้มข้นของฮอร์โมนในกระแสเลือด เฉพาะเจาะจงต่ออวัยวะเป้าหมายเท่านั้น ซึ่งตัวกระตุ้นเหล่านี้ อาจจะมีจำนวนมากแล้วกระตุ้น ให้ฮอร์โมนหยุดการทำงาน เช่นถ้าร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา หรือถ้าร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนกลูคากอนออกมาทำงาน ซึ่งแล้วแต่การทำงานของฮอร์โมนแต่ละตัว
การหลั่งของฮอร์โมนต้องสัมพันธ์กับการสร้าง เพราะจะได้มีการสร้างฮอร์โมนใหม่ ให้มาทดแทนที่ถูกหลั่งออกไป เมื่อเซลล์ถูกกระตุ้นแรงๆ จะมีการหลั่งสองลักษณะ (biphasic) คือมีการหลั่งอย่างรวดเร็วในระยะแรก แล้วหลั่งน้อยลง แต่นานกว่าในช่วงหลัง พร้อมทั้งมีการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น อัตราการหลั่งของฮอร์โมน จึงมีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ เป็นช่วงๆ (pulsatile) มีหลายแบบดังนี้

1. การหลั่งเป็นช่วงๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง (circhoral) เช่น ฮอร์โมนเพศ
การหลั่งของลูทีไนซิ่งฮอร์โมนที่หลั่งเป็นจังหวะในรอบ 1 วัน

2. การหลั่งขึ้นลงนานกว่าชั่วโมงแต่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง (ultradian)
3. การหลั่งเปลี่ยนแปลงทุกวันโดยมีระดับสูงที่เวลาเดียวกันทุกวัน (diurnal) เช่นฮอร์โมน ACTH ที่หลั่งออกมาสูงช่วงเช้ามืดของทุกวัน
4.การหลั่งแต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง (circadian) เช่นโกรทฮอร์โมนจะหลั่งขณะที่นอนหลับสนิท
5. การหลั่งขึ้นอยู่กับช่วงเวลาประมาณ 1 ปี/หรือฤดูกาล (circannnual/seasonal) เช่นระดับสูงสุดของโกนาโดโทรปิน ในช่วงก่อนตกไข่ทุก 28 วันและขึ้นลงตามฤดูกาลได้

การหลั่งของโกรทฮอร์โมนซึ่งจะหลั่งภายหลังหลับสนิทซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นรอบภายใน 24 ชั่วโมง












การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบยับยั้งย้อนกลับ (negative feedback ) เป็นรูปแบบการควบคุมที่ใช้มาก คือการที่ฮอร์โมนหรือผลของฮอร์โมนนั้น บอกสัญญาณไปยังต่อมไร้ท่อให้หลั่งฮอร์โมนน้อยลง เช่น การทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อระดับของกลูโคสในกระแสเลือดมาก ตับอ่อนจะผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมา เพื่อนำกลูโคสเข้าเซลล์ ซึ่งจะทำให้ระดับกลูโคส ในกระแสเลือดลดลง ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดที่ต่ำลง จะไปส่งสัญญาณให้ตับอ่อน ผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดน้อยลง เป็นต้น
การทำงานของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานแบบยับยั้งย้อนกลับ







การควบคุมการหลั่งฮอร์โมนแบบกระตุ้นย้อนกลับ ( positive feedback) เป็นรูปแบบที่พบน้อยกว่า เป็นการทำงานตรงกันข้าม กับการยับยั้งที่กล่าวมาแล้ว คือ แทนที่จะไปยับยั้งแต่ผลของฮอร์โมน จะไปกระตุ้นให้มีการทำงานของต่อมไร้ท่อมากขึ้น เช่น ฮอร์โมนออกซิโทซิน ซึ่งการที่ทารกดูดนมมารดาอยู่สม่ำเสมอ จะเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไต้สมองสร้างฮอร์โมนออกซิโทซินตลอดเวลาหรือมากขึ้น
การทำงานของออกซิโทซินซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานแบบกระตุ้นย้อนกลับ








การควบคุมโดยระบบประสาท เกิดได้ 2 ทาง คือ
- ทางตรง โดยมีสมองส่วนไฮโพทาลามัสควบคุมการหลั่งโดยตรง เช่น การทำงานของต่อมใต้สมอง และอะดรีนัลเมดัลลา
- ทางอ้อม โดยมีสมองส่วนไฮโพทาลามัส จะสร้างสารเคมีที่เรียกว่า นิวโรเอนโดคริน ฮอร์โมน (neuroendocrine hormone: neurohormone) ได้แก่ฮอร์โมนที่ช่วยในการหลั่งของฮอร์โมนตัวอื่น (releasing factor) หรือฮอร์โมนที่ช่วยยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนตัวอื่น(inhibiting factor) เมื่อถูกกระตุ้น จะปล่อยเข้ากระแสเลือดไปควบคุมการหลั่งของต่อมไร้ท่อ เช่นต่อมใต้สมองส่วนหน้า ให้ควบคุมต่อมไร้ท่ออื่นต่อไป
การควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนโดยระบบประสาท(1 และ 2 เป็นการควบคุมโดยตรง ส่วน 3 เป็นการคุมทางอ้อม)
ระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง(คน)

























ที่มา : Campbell, Biology: concepts & connection--3rd, N.A. Mitchell, L.G. and Reece, 1999 (P.520)

การจำแนกต่อมไร้ท่อตามความสำคัญต่อชีวิต

Essential endocrine gland เป็นต่อมไร้ท่อที่จำเป็นมาก ถ้าขาดแล้วทำให้ตายได้ ได้แก่
1.1) ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid)1.2) ต่อมหมวกไตชั้นนอก ( adrenal cortex )1.3) ต่อมไอส์เลตของตับอ่อน ( islets of Langerhans )





Non - Essential endocrine gland เป็นต่อมที่ไม่จำเป็นหรือจำเป็นน้อยมากต่อร่างกาย ได้แก่2.1) ต่อมใต้สมอง (pituitary)2.2) ต่อมไทรอยด์ (thyroid)2.3) ต่อมหมวกไตชั้นใน (adrenal medulla)2.4) ต่อมไพเนียล (pineal)2.5) ต่อมไทมัส (thymus)2.6) ต่อมเพศ (gonads)

Tropic hormones คือ ฮอร์โมนที่ไปมีบทบาทควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ

จุดกำเนิดของต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) เป็นต่อมที่ทำหน้าที่ ในการลำเลียงฮอร์โมน และปล่อยสู่กระแสเลือด เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากต่อมไร้ท่อ จึงมีความสำคัญมาก เพราะเป็นตัวนำฮอร์โมนจากต่อม ต่อมไร้ท่อมีการเปลี่ยนแปลงมาจาก เนื้อเยื่อทั้ง 3 ชั้น คือ

1.เอกโทเดิร์ม (Ectoderm)
2.มีโซเดิร์ม (Mesoderm)
3.เอนโดเดิร์ม (Endoderm)

















ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อ และ อวัยวะที่สำคัญ

1. ต่อมใต้สมอง ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น































ที่มา : www.crystalinks.com/pinealcolors2.jpg






















1.1) Growth Hormone (GH) เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ

















1.2) Thyroid Stimulating Hormone (TSH) เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง
ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น

1.3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ได้แก่

1.3.1) FSH ในหญิง ทำให้รังไข่เติบโต กระตุ้นการสร้างฮอร์โมน Estrogen
ในชาย กระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะ กระตุ้นการสร้างอสุจิ

1.3.2) LH ในหญิง กระตุ้นให้มีการตกไข่
ในชาย กระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมน Testosterone


















1.4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต
เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
1.5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น












2. ต่อมไทรอยด์

ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท 2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่ 3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย

























ที่มา : http://www.netterimages.com/image/10382.htm







3. ต่อมพาราไทรอยด์

ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อ พาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่

1.การควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย
2.การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมน
พาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียม
ในพลาสมา



















4. ตับอ่อน

ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้
1) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่าน เข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ ปกติ 2) กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น

















5.ต่อมหมวกไต ( adrenal gland )
.............. เป็นก้อนสีเหลืองๆ อยู่เหนือไตข้างละ 1 ต่อม ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือควบคุมของ ACTH จากต่อมใต้สมองตอนหน้า แบ่ง ฮอร์โมนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่สำคัญ คือ
1. Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไกลโคเจนในตับ และกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะทำให้อ้วน อ่อนแอ หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูง
2. Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้ คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อไต ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกาย สูญเสียน้ำและโวเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลง จนอาจทำให้ผู้ป่วยตาย เพราะความ ดันเลือด ต่ำ
3. Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
4. อะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
4.1) Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด















4.2) Noradrenlin hormone หรือ Norepinephrine hormone กระตุ้นให้เส้นเลือดมการบีบตัว ผลอื่นคล้ายๆ adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
6. ต่อมเพศ

ในเพศชายคือ อัณฑะ ในเพศหญิงคือรังไข่ ซึ่งมีหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และสร้างฮอร์โมน ดังนี้
1) ฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสทอสเตอโรน ซึ่งทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ควบคุมการ เจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของเพศชาย













2) ฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะ สืบพันธุ์ และลักษณะต่างๆ ของความเป็นเพศหญิง แล้วฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะทำหน้าที่ระงับ ไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์เพื่อป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์
















ที่มา : http://www.creationofman.net/chapter3/res/125.jpg
7. ฮอร์โมนจากรก

หลังจากตั้งไข่ประมาณ 10 วัน เซลล์ของรกจะเริ่มหลั่งฮอร์โมน ชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งจะพบในเลือดและในปัสสาวะของผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงใช้เป็นตัว ทดสอบการตั้งครรภ์ของผู้หญิงได้














8. ต่อมเหนือสมอง

1. ฮอร์โมนประสาท ( ..RH , ...IH ) กระตุ้นและยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า , ส่วนกลาง
2. Oxytocin กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกให้หดตัวเพื่อช่วยลดในการคลอด และ ให้ตัวอสุจิเคลื่อนภายในมดลูก , กระตุ้นการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนมเพื่อหลั่งน้ำนม
3. ADH ( Antidiuratic Hormone ) หรือ Vasopressin กระตุ้นให้เส้นเลือดแดงเล็กๆ หดตัว ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น , กระตุ้นให้ท่อของหน่วยไตส่วนท้ายและส่วนรวมมีการดูดน้ำกลับคืน ถ้าร่างกายขาด ADH จะปัสสาวะมาก ทำให้เกิดโรคเบาจืด ( Diabetes inspidus : DS )



รูปกระบวนการทำงานของฮอร์โมน Oxytocin

9. ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์

สรุปได้ดังนี้1. glucagon สร้างจากแอลฟาเซลล์ เป็นเซลล์ขนาดใหญ่อยู่ภายนอก ทำหน้าที่เปลี่ยน glycogen ในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นglucose ในเลือด
2. insulin สร้างจากเบตาเซลล์ เป็นเซลล์ขนาดเล็กอยู่ภายใน ทำหน้าที่เปลี่ยน glucose ในเลือดให้เป็น glycogen ในตับ ถ้า ขาด insulin ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ( diabetes mellitus ) ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต


10. ต่อมไทมัส
สร้างฮอร์โมน ไทโมซิน ไปอวัยวะเป้าหมาย คือ เนื้อเยื่อของต่อไทมัส ไปกระตุ้นการสร้าง T-lymphocyte ของต่อมไทมัส เจริญเต็มที่ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดาและจะเสื่อมสภาพและฝอไปเรื่อยๆตามอายุตั้งแต่เข้าสู่วัยรุ่น (สร้าง เม็ดเลือดขาว แอนติบอดี)

























ฮอร์โมนพืช

ฮอร์โมนพืชเป็นสารอินทรีย์ (organic substances) โดยทั่วๆ ไปจะเป็นโมเลกุลเล็กๆ ที่มี carbon rings หรือ carbon รวมกับ nitrogen พืชสร้างขึ้นมาได้เองในปริมาณที่น้อยจากเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของต้นพืช และสารเหล่านี้สามารถเคลื่อนย้ายจากเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นมา และไปมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของเนื้อเยื่อพืชในบริเวณอื่นๆ ของต้น เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของต้นพืชจะตอบสนองต่อฮอร์โมนชนิดต่างๆ ที่พืชสร้างขึ้นมาแตกต่างกัน





























1.

สารโดยธรรมชาติของกลุ่มนี้ได้แก่ IAA (Indole-3-acetic acid) สารนี้สังเคราะห์มาจาก amino acid tryptophan ในส่วนตายอด ใบอ่อน และเมล็ดที่กำลังพัฒนา มีการเคลื่อนย้ายจากยอดสู่โคน (basipetal)

บทบาท1. cell enlargement กระตุ้นให้มีการขยายเซลล์และการเติบโตของลำต้น2. cell division กระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์ของ cambium 3. vascular tissue differentiation โดยเฉพาะ xylem และ phloem 4. root initiation ในส่วนของกิ่งปักชำและการแตกรากแขนง5. tropistic response โดยชักนำให้โค้งงอต่อ gravity หรือแสง6. apical dominace โดยกดดันมิให้ตาข้างเจริญ7. delay leaf senescence8 . inhobit or promote leaf and fruit abscission9. induce fruit setting and growth10. delay fruit ripening11. promote flowering in bromeliads12. promote femaleness in dioecious flowers

สาร auxins โดยทั่วไปในระดับความเข้มข้นต่ำแล้วมักมีผลส่งเสริมให้ด้านการเจริญเติบโตในทางตรงข้าม หากใช้ในระดับความเข้มข้นที่สูงมากขึ้นกลับมีผลในการยับยั้งการเจริญเติบโต ซึ่งมักใช้ในรูปของสารกำจัดวัชพืช ( herbicides)
















2.gibberellins

เป็นกลุ่มของสารที่มีโครงสร้าง ento -gibberrllane หรือบางครั้งเรียกว่า Gibbane ring เป็นกลุ่มของฮอร์โมนพืชที่พบในพืชชั้นสูงและเชื้อรา สารในกลุ่มนี้เท่าที่มีรายงานในปัจจุบันนั้นมีอยู่ด้วยกัน 72 ตัว คุณสมบัติของสาร GA คือ ช่วยให้เซลล์ยืดตัวอย่างมากซึ่งให้ผลมากกว่า auxin GA บางตัวให้ผลในการยืดเซลล์ได้มากในขณะที่บางตัวให้ผลน้อยหรือไม่ตอบสนองเลย แม้ว่า GA 3 หรือ biberellic acid ซึ่งเป็นสารที่สกัดได้จากเชื้อรานั้นจะเป็นตัวที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางมากที่สุด แต่สำหรับในพืชตัวที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็น GA 1 นอกเหนือจากนี้แล้ว GA ตัวที่มีการใช้ในทางการเกษตรซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ GA 4 และ GA 7 หรืออาจอยู่ในรูปของ GA 4+7 GA นั้นมีการสังเคราะห์มาจาก mevalonic acid pathway ใน tissue ส่วนที่อ่อน โดยเฉพาะส่วนของปลายยอดและปลายราก และเมล็ดที่กำลังพัฒนา (developing seed) บทบาท1. กระตุ้นให้มี cell division และ cell hyperelongation 2. induce seed germination 3. flower inhibition or stimulate vegetative growth 4. induction of flowering (bolting) inlong day plants 5. stimulate fruit setting and growth 6. stimulate enzyme production โดยเฉพาะ a- amylase ในเมล็ดธัญพืชที่กำลังงอก 7. ชักนำให้เกิดความเป็นตัวผู้ ( maleness) ใน dioecious flowers 8. delay chlorophyll degradation (senescence)

















3.cytokinins

สารกลุ่มนี้ใช้ช่วยให้มีการเพิ่มจำนวนเซลล์หรือช่วยในการแบ่งเซลล์ ( cell division) ได้เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้วใช้ในงานทางด้าน plant tissue culture เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนของชิ้นส่วนให้มากขึ้น และยังช่วยในด้านของ vascular cell differentiation ของเนื้อเยื่อนั้นด้วย นอกจากนี้ สารกลุ่มนี้ยังช่วยชะลอความแก่ (delay senescence) ของผักและผลไม้ด้วย (แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในทางการค้าหรือบริโภค) สารที่พบในกลุ่มนี้ตามธรรมชาติได้แก่ zeatin ส่วนสารสังเคราะห์ที่นิยมใช้ในทาง tyissue culter ได้แก่ kinetin และ 6- Benzylaminopurine เป็นต้น ในธรรมชาติพบสาร cytokinins นี้มีการสังเคราะห์ขึ้นที่ส่วนของปลายราก และในผล และเมล็ดที่กำลังพัฒนา (developing fruit and seed) บทบาท 1. ช่วยเพิ่ม cell division 2. induce bud formation หรือช่วยให้มี morphogenesis 3. ช่วยให้ตาข้างมีการเจริญเติบโตหลุดพ้นจากอิทธิพลของ apical dominance 4. delay leaf senescence 5. ช่วยให้มีการเพิ่มปริมาณของ chloroplasts ส่งผลให้มีการสะสมปริมาณของ chlorophyll
























4.abscisic acid

สารนี้ที่พบในธรรมชาติมีการสังเคราะห์มาจาก mevalonic acid pathway เช่นเดียวกับ GA เป็นสารช่วยชะลอหรือยับยังปฏิกริยาของพืช เช่น ชักนำให้เกิด dormancy ประโยชน์ในทางการเกษตรปัจจุบันยังไม่มี แต่มีสารสังเคราะห์ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ซึ่งมักเรียกรวมกันว่า สารยังยั้งการเจริญเติบโต (growth inhibitors) หรือสารชะลอการเจริญเติบโต (growth retardants) บทบาทของสารเหล่านี้อาจเข้าไปรบกวนกระบวนการสังเคราะห์ฮอร์โมนอื่น โดยเฉพาะ GA หรือ auxins ทำให้ต้นพืชสามารถสร้างปริมาณของสารเหล่านั้นได้น้อยลงหรือถูกยับยั้งการสร้างไป ทำให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตช้าลง สารสังเคราะห์ที่พบและใช้ในการเกษตร เช่น CCC หรือ Cycocel [(2-chloroethyl) trimethyl ammonium chloride> ; SADH หรือ Alar หรือ B-9 หรือ B-995 (Succinic acid-2, 2-dimethylhydrazide) ; BOH;Phosphon-D; Amo-1618; Maleic hydrazide (MH); morphactin; Paclobutrazol

























5.ethylene


เป็นฮอร์โมนพืชเพียงตัวเดียวที่อยู่ในสภาพเป็นแก๊ส พืชสามารถสร้างแก๊สนี้ได้ในทุกส่วนของ tissue ที่มีชีวิตอยู่ การสร้าง ethylene นี้จะเริ่มมาจาก amino acid methionine โดยเฉพาะในสภาวะที่พืชมี stress หรือในระยะใกล้หมดอายุ (senescence) หรือในผลที่กำลังสุก (ripening) จะมีการสังเคราะห์ ethylene นี้ในระดับที่ค่อนข้างสูงมาก ดังนั้น ประโยชน์อันหนึ่งของสารนี้คือใช้สำหรับการบ่มผลไม้ ethylene นี้ บางครั้งก็เรียกว่าเป็นฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความชราภาพ (senescing hormone) คือช่วยให้พืชแก่เร็วขึ้น ทำให้ดอกโรยเร็ว ดอก ผลอ่อน ผลแก่ และใบหลุดร่วง หรือช่วยให้เกิดการสร้างรอยแยก (abscission layer) ขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้พืชในวงศ์สับปะรด (family Bromeliaceae) ให้เกิดการออกดอกตามต้องการ เนื่องจากสารนี้อยู่ในสภาพที่เป็นแก๊ส การจะนำไปใช้กับพืชในแปลงปลูกจึงไม่สามารถกระทำได้ เพราะแก๊สจะ diffuse ไปในอากาศทุกทิศทุกทางอย่างรวดเร็ว โอกาสที่จะปฏิกิริยากับพืชยังไม่ทันที่จะเกิดขึ้น จึงได้มีการสังเคราะห์สารที่ชื่อว่า ethephon ขึ้นมา เมื่อสารนี้ดูดซึมเข้าไปในพืช จะค่อย ๆ สลายตัวและปลดปล่อย ethylene gas ออกมา นอกจาก ethylene แล้ว สารพวกถ่านแก๊ส ( calcium carbide) เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วจะสลายตัวและให้ acetylene gas ออกมา แก๊สนี้มีคุณสมบัติใช้บังคับให้สับปะรดออกดอกและใช้บ่มผลไม้ให้สุกได้เช่นเดียวกันกับ ethylene แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า ethylene ประมาณพันเท่า



บทบาท



1. breaking dormancy



2. shoot and root growth differentiation (radial expansion)



3. adventitious root formatipon



4. induction of leaf, flower and fruit abscission



5. flower induction in bromeliads



6. induction of femeleness in dioecious flowers



7. induce flower and leaf senescence



8. inhibition of flowering in fruit trees



9. induce fruit ripening




ที่มา :





  1. Campbell, Biology: concepts & connection--3rd, N.A. Mitchell, L.G. and Reece, 1999


  2. พ.ญ.บุญลักษณ์ คำอิ่ม.ชีววิทยา : รวมสูตร . -กรุงเทพ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2552


  3. นายอะตอม.กุญแจไขสู่โลกชีววิทยา.-- กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2547


  4. http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/hormone(9)/index.htm


  5. http://schoolnet.nectec.or.th/library/webcontest2003/100team/dlbs029/menu/ant14.html


  6. http://www.geocities.com/blgy99/t024.html


  7. http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2547/chonburi/bio/members.thai.net/m6141/Lesson21.htm


  8. http://www.fzi.uni-freiburg.de/images/Pheromone.jpg


  9. http://www.creationofman.net/chapter3/res/125.jpg


  10. http://www.netterimages.com/images/vpv/000/000/009/9014-0550x0475.jpg


  11. http://www.lks.ac.th/bioweb/about/unit9.html


  12. http://en.wikipedia.org/wiki/Hormone


  13. http://en.wikipedia.org/wiki/Plant_hormone


  14. http://th.wikipedia.org/wiki/ฮอร์โมน


  15. http://easy2young.com/hormone.php


  16. http://www.school.net.th/library/snet4/feb18/homo.htm